วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

นิทานเวตาลเรื่องที่ 10

                                                                            บทที่ 1
                                                                            บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันวัยรุ่นส่วนใหญ่จะอ่านนิยายหรือบทความตามสื่อออนไลน์ที่ขาดการคัดกรองความถูกต้อง จึงเป็นผลให้ได้รับค่านิยม ความรู้ และความคิดผิดๆ และนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างไม่เหมาะสม และจากที่กล่าวมาในปัจจุบันมีการอ่านนิทานน้อยลงเพราะเห็นความสำคัญของการอ่านอย่างอื่นมากกว่า หรือใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับเกมออนไลน์หรือสิ่งที่ไม่ดี จนทำให้นิทานที่ดีบางเรื่องหรือนิทานที่มีมาแต่โบราณไม่มีคนนิยมอ่านเเละถูกลืมในที่สุด
นิทานเวตาลฉบับนิพนธ์ ของพระราชวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า เวตาลปัญจวิงศติ ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาอินเดียมาแปลให้เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งถูกแปลโดย    ร้อยเอกเซอร์ ริชาร์ด เอฟ.เบอร์ตัน ก็ได้นำนิทานเวตาลมาแปลและเรียบเรียงขึ้นใหม่ และแต่งแปลงให้เป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่านแต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงนิพนธ์นิทานเวตาลฉบับเบอร์ตัน 9 เรื่องและจากฉบับแปลสำนวนของ   ซี.ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับไทยทั้งหมด 10 เรื่องเมื่อ พ.ศ. 2461 นิทานเวตาลเป็นที่นิยมอย่างเเพร่หลายในหลายๆ ประเทศ เพราะเป็นนิทานพิเศษ กล่าวคือเป็นนิทานที่มีนิทานเรื่องย่อยๆ ซ้อนกันอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่ ซึ่งนอกจากจะได้รับความสนุกสนานและความตื่นเต้นแล้วยังแฝงไปด้วยปริศนาและคุณธรรมที่สอดแทรกอยู่ในเรื่อง ทางผู้ศึกษาโครงงานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงคิดที่จะศึกษาคุณธรรมที่ปรากฏอยู่ในเรื่อง และนำคุณธรรมที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม และเกิดประโยชน์สูงสุด

วัตถุประสงค์
           1.เพื่อศึกษาคุณธรรมด้านต่างๆ จากนิทานเวตาล
           2.เพื่อศึกษาค้นคว้าคุณค่าในนิทานเวตาล
           3.เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.สามารถนำคุณธรรม ข้อคิดต่างๆจากเรื่องนิทานเวตาลไปใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
2.มีความรู้ความเข้าใจเรื่องความหมายของนิทานเวตาล
3.มีแนวคิดและวิธีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ความเป็นมานิทานเวตาล ฉบับพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461  นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่

2. ประวัติผู้แต่ง
            พระราชวงศ์เธอ    กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝงว่า “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากตัวอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม (พระองค์เจ้า) “รัชนีแจ่มจรัส

 3. ลักษณะคำประพันธ์
           นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.
4.  เนื้อเรื่องนิทานเวตาลเรื่องที่ 10
เวตาลกล่าวว่า ครั้งนี้ข้าพเจ้าเขม่นตาซ้ายหัวใจเต้นแรง แลตาก็มืดมัวเหมือนลางไม่ดีเสียแล้ว  แต่ข้าพเจ้าจะเล่าเรื่องจริงถวาย แลเหตุที่ข้าพเจ้าเบื่อหน่ายที่ต้องถูกแบกหามไปหามมา
ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตรครั้นกษัตริย์ทั้งสององค์ทรงกระทำสัญญาแบ่งนางกันดังนี้แล้ว ก็ชักม้าตามรอยเท้านางเข้าไปในป่าพระราชากับพระราชบุตรก็เชิญนางทั้งสองขึ้นบนหลังม้าองค์ละองค์ นางพระบาทเขื่องคือพระราชธิดาขึ้นทรงม้ากับท้าวจันทรเสน นางพระบาทเล็กคือพระมเหสีขึ้นทรงช้างกับพระราชบุตร สี่องค์ก็เสด็จเข้ากรุง กล่าวสั้นๆ ท้าวจันทรเสน แลพระราชบุตรก็ทำวิวาหะทั้งสองพระองค์ แต่กลับคู่กันไป คือพระราชบิดาวิวาหะกับพระราชบุตรี  พระราชบุตรวิวาหะกับพระมเหสี แลเพราะเหตุที่คาดขนาดเท้าผิด ลูกกลับเป็นเมียพ่อ แม่กลับเป็นเมียลูก ลูกกลับเป็นแม่เลี้ยงของผัวตัวเอง แลแม่กลับเป็นลูกสะใภ้ของผัวแห่งลูกตน แลต่อมาบุตรแลธิดาก็เกิดจากนางทั้งสอง แลบุตรแลธิดาของนางทั้งสองก็มีบุตรแลธิดาต่อๆกันไป
เวตาลเล่ามาเพียงครู่หนึ่ง แล้วกล่าวต่อไปว่า  “บัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพลลูกพระมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้น จะนับญาติกันอย่างไร”   พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องของพ่อกับลูก  แม่กับลูก แลกับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมาเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัว  แลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งคืนโยคีนั้นจะสำเร็จก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  ก็รีบสาวก้าวดำเนินเร็วขึ้นครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่ จะรับสั่งอะไรไม่ได้ ก็ทรงกระแอม
เวตาลทูลถามว่า
 “รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ
พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
บางมีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง
ครั้งนี้แม้แต่กระแอม พระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึ่งกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้ บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง” 
แต่พระธรรมวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว

5. คุณธรรม
คุณธรรม  หมายถึง  สำหรับความหมายของคำว่า คุณธรรม  มีผู้ให้นิยามความหมายไว้  ดังนี้
พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตสถาน 2542ได้ให้ความหมายไว้ว่า คุณธรรม หมายถึง สภาพคุณงามความดี เป็นสภาพคุณงามความดีทางความ ประพฤติและจิตใจ ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 2 ความหมาย ได้แก่ ความประพฤติดีงาม เพื่อประโยชน์แก่ตนและสังคม ซึ่งมีพื้นฐานมาจากหลักศีลธรรมทางศาสนา ค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี หลักกฎหมาย จรรยาบรรณวิชาชีพ การรู้จักไตร่ตรองว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ และอาจกล่าวได้ว่าคุณธรรม คือ จริยธรรมที่นำมาปฏิบัติจนเป็นนิสัย เช่น การเป็นคนซื่อสัตย์ เสียสละ และ มีความรับผิดชอบ
ทธทาสภิกขุ (2505, 3) ได้ให้อรรถาธิบายคำว่า คุณธรรม ไว้ว่า คุณ หมายถึง ค่าที่มีอยู่ในแต่ละสิ่ง ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เป็นไปได้ทั้งทางดีและทางร้าย คือ ไม่ว่าจะทำให้จิตใจยินดีหรือยินร้าย ก็เรียกว่า “คุณ” ซึ่งเป็นไปตามธรรมชาติของมัน ส่วนคำว่า ธรรม มีความหมาย 4 อย่าง คือ
ธรรมะ คือ ธรรมชาติ
ธรรมะ คือ กฎของธรรมชาติที่เรามีหน้าที่ต้องเรียนรู้
ธรรมะ คือ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เรามีหน้าที่ต้องปฏิบัติ
ธรรมะ คือ ผลจากการปฏิบัติหน้าที่นั้น เรามีหน้าที่จะต้องมี หรือใช้มันอย่างถูกต้อง
สรุป คุณธรรม หมายถึง หลักของความดีความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ  ทางกาย   วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งเป็นหลักประจำใจในการประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตนเองผู้อื่น และสังคมให้เกิดความรักสามัคคี ความอบอุ่นมั่นคงในชีวิต

6. ความพอเพียง
คำว่า พอเพียง หมายถึง ความมีพอสำหรับดำรงชีวิต เช่น เขาใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีการส่งเสริมระบบการผลิตแบบพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ดังเช่นที่คนไทยได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทย เพื่อนำไปเป็นแนวทางปฏิบัติ ในการดำเนินชีวิตในยามที่ประเทศประสบปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจใน พ.ศ.2540 โดยรัฐบาลได้น้อมนำเอาปรัชญาแห่งเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาชุมชนและสังคมให้เข้มแข็ง
“ ความพอเพียงนี้หมายถึงความพอประมาณ มีเหตุมีผล การเดิน สายกลาง รวมถึงความจำเป็นที่ต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีต่อการรับผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบคอบ มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ขณะเดียวกันก็จะ ต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ… คือ คุณธรรม
คำว่า “พอเพียง” จากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเต้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ณ ศาลาดุสิตดาลัย สวนจิตรลดา พระราชทานความหมายของคำว่า “พอเพียง” ไว้ว่า
“…คำว่าพอเพียงมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง มีความหมายกว้างออกไปอีก ไม่ได้หมายถึงการมีพอสำหรับใช้เองเท่านั้น แต่มีความหมายว่า พอมีพอกิน พอมีพอกินนี้แผลว่าเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเอง…”

7. ความมีวินัย
วินัย หมายถึง ระเบียบ กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ สำหรับควบคุมความประพฤติทางกาย วาจา ของคนในสังคมให้เรียบร้อยดีงาม  เป็นแบบแผน อันหนึ่งอันเดียวกัน จะได้อยู่ร่วมกันด้วยความสุขสบาย ไม่กระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน  วินัยช่วยให้คนในสังคมห่างไกลจากความชั่วทั้งหลาย
การอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เหล่า ถ้าขาดระเบียบวินัย ต่างคนต่างทำตามอำเภอใจ ความขัดแย้งและลักลั่นก็จะเกิดขึ้น ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากเรื่อง ไม่มีความสงบสุข  การงานที่ทำก็จะเสียผลดอกไม้จำนวนมากที่วางรวมกัน หากวางอยู่ระเกะระกะกระจัดกระจาย ก็จะด้อยค่าลง  ทั้งยังทำให้รกรุงรังอีกด้วย แต่เมื่อเรานำดอกไม้เหล่านี้มาร้อยรวมเข้าด้วยกันด้วยเส้นด้าย ดอกไม้เหล่านี้ก็จะกลายเป็นพวงมาลัยอันงดงาม เหมาะที่จะนำไปประดับตกแต่งให้เจริญตาเจริญใจ ถ้าประชาชนแต่ละคนเป็นเสมือนดอกไม้แต่ละดอก เส้นด้ายที่ใช้ร้อยดอกไม้ให้รวมกันยู่ออย่างมีระเบียบงดงามนั้นก็เปรียบเสมือนวินัย วินัยจึงเป็นสิ่งที่ใช้ควบคุมคน  ให้คนเราใช้ความรู้ความสามารถไปในทางที่ถูกที่ควร  คือทำคนให้เป็นคน “ฉลาดใช้นั่นเอง

8. ความกตัญญู
ความกตัญญู คือ ความรู้คุณ หมายถึงความเป็นผู้มีใจกระจ่าง มีสติ มีปัญญาบริบูรณ์ รู้อุปการคุณที่ผู้อื่นกระทำแล้วแก่ตน ผู้ใดก็ตามที่ทำคุณแก่ตนแล้ว ไม่ว่าจะมากก็ตาม น้อยก็ตามแล้วก็ตามระลึกนึกถึงด้วยความซาบซึ้งไม่ลืมเลย
สิ่งที่ควรกตัญญู
สิ่งที่ควรแก่ความกตัญญูแบ่งได้เป็น 5 ประการ ได้แก่
1. กตัญญูต่อบุคคล คือ ใครก็ตามที่เคยมีพระคุณต่อเรา ไม่ว่าจะมากน้อยเพียงไร จะต้องกตัญญูรู้คุณท่าน ติดตามระลึกถึงเสมอด้วยความซาบซึ้งพยายามหาโอกาสตอบแทนคุณท่านให้ได้ โดยเฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระสงฆ์ บิดามารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ พระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองที่ทรงทศพิธราชธรรม จะต้องตามระลึกนึกถึงพระคุณของท่านให้จงหนัก ให้ปฏิบัติตัวให้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์ เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ และเป็นพุทธมามกะสมชื่อ
2. กตัญญูต่อสัตว์ คือ สัตว์ที่มีคุณต่อเรา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ที่ใช้งาน จะต้องใช้ด้วยความกรุณาปรานี ไม่เฆี่ยนตีมันจนเหลือเกิน
3. กตัญญูต่อสิ่งของ คือ ของสิ่งใดก็ตามที่มีคุณต่อเรา เช่นหนังสือ ธรรมะ หนังสือเรียน สถานศึกษา วัด ต้นไม้ ป่าไม้ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการหาเลี้ยงชีพ ฯลฯ
4. กตัญญูต่อบุญ คือ รู้ว่าคนเราเกิดมามีอายุยืนยาว ร่างกายแข็งแรง ผิวพรรณดี สติปัญญาเฉลียวฉลาด มีความสุขความเจริญ มีความก้าวหน้า มีทรัพย์สมบัติมาก ก็เนื่องมาจากผลของบุญ จะไปสวรรค์หรือกระทั่งไปพระนิพพานได้ก็ด้วยบุญ กล่าวได้ว่า ทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยบุญ ทั้งบุญเก่าที่ได้สะสมมาดีแล้ว และบุญใหม่ที่เพียรสร้างขึ้นประกอบกัน จึงมีความรู้คุณของบุญ มีความอ่อนน้อมในตัว ไม่ดูถูกบุญ ตามระลึกถึงบุญเก่าให้จิตใจชุ่มชื่น และไม่ประมาทในการสร้างบุญใหม่ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป
5. กตัญญูต่อตนเอง คือ รู้ว่าร่างกายของเรานี้เป็นอุปกรณ์สำคัญที่เราจะได้อาศัยใช้ในการทำความดี ใช้ในการสร้างบุญกุศลนานาประการเพื่อความสุข ความเจริญก้าวหน้า แก่ตนเองต่อไป จึงทะนุถนอมดูแลร่างกายรักษาสุขภาพให้ดี ไม่ทำลายด้วยการกินเหล้าเสพสิ่งเสพติด

9. ความซื่อสัตย์
ความซื่อสัตย์ หมายถึง มีความซื่อตรง มั่นคงอยู่ในศีลธรรม มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น มีความสุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งความซื่อสัตย์นี้จะไม่ทำให้บุคคลรอบข้างของเราเดือดร้อนและแล้วความซื่อสัตย์นั่นก็จะนำพามาซึ่งความเจริญของบ้านเมือง
คำว่า  "ซื่อสัตย์"  ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายของคำว่า “ ซื่อ ” ว่าหมายถึง ตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยม ไม่คดโกง ส่วนคำว่า “ ซื่อตรง ” หมายถึง ความประพฤติตรง ไม่เอนเอียง ไม่คดโกง และ “ซื่อสัตย์ ” หมายถึง ความประพฤติตรงและจริงใจ ไม่คิดคดทรยศ ไม่คดโกงและไม่หลอกหลวง หรือเราอาจจะพูดง่ายๆว่าคนที่ซื่อสัตย์ ก็คือ คนที่เป็นคนตรง ประพฤติสิ่งใดก็ด้วยน้ำใสใจจริง

10. พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม  เช่น ถ้าเป็นภาษิตพระสัมมาสัมพุทธตรัสเอง เรียกว่า พุทธภาษิต (หรือ พระพุทธพจน์) ถ้าพระโพธิสัตว์ กล่าวเรียกว่า โพธิสัตว์ภาษิต  ถ้าพระสาวกกล่าว ก็เรียกว่า เถรภาษิต บ้าง สาวกภาษิต บ้าง แม้แต่คำที่เทวดากล่าว และพระพุทธองค์ได้ตรัสรับรองว่าดีด้วยการตรัสคำนั้นซ้ำ  เรียกว่า เทวดาภาษิต เป็นต้น
ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องที่ควรระมัดระวัง  มิใช่ว่า เห็นว่าเป็นพุทธศาสนสุภาษิต หรือเห็นเป็นคำบาลี  แล้วก็เดาเอาว่าเป็นพระพุทธพจน์ โดยมิได้ดูที่มาของสุภาษิตนั้นให้แน่นอน อาจจะเป็นการตู่พระพุทธวจนะได้   คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ 
พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง  อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย 

  

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ

1. ขั้นตอนการดำเนินงาน
    1. ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับนิทานเวตาลจากหนังสือเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม       ม.และเว็บไซต์ต่างๆ
     2. ศึกษาความหมายของคำว่า ความพอเพียง ความมีวินัย ความกตัญญู และความซื่อสัตย์
     3. วิเคราะห์เนื้อหานิทานเวตาลที่สอดคล้องกับความพอเพียง ความมีวินัย ความกตัญญู และความซื่อสัตย์
     4. นำเนื้อหาที่ได้จากการวิเคราะห์มาเรียบเรียงและสรุปผลที่ได้จากการศึกษา
     5. นำเนื้อหาที่ได้มาจัดทำเป็นรูปเล่มให้สวยงาม

2. อุปกรณ์ละวัสดุที่ใช้ในการศึกษา
    1. หนังสือเรียนวรรณคดีและวรรณกรรม ม. 4
     2. คอมพิวเตอร์
     3. ดินสอ
     4. ยางลบ
     5. ปากกาตัดเส้น
     6. ดินสอสีไม้
     7. กระดาษขนาด A4

3. ระยะเวลาการดำเนินงาน 


วิธีการดำเนินงาน

ระยะเวลา

สถานที่

ผู้รับผิดชอบ

1. ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้อง

14-15 สิงหาคม 2560

โรงเรียนถาวรานุกูล
อาจารย์ขวัญมงคล สายสวาท และสมาชิกในกลุ่ม

2. เขียนเค้าโครงโครงงาน

16 สิงหาคม 2560

โรงเรียนถาวรานุกูล
อาจารย์ขวัญมงคล สายสวาท และสมาชิกในกลุ่ม

3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์

17 สิงหาคม 2560

โรงเรียนถาวรานุกูล  และบ้านของสมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม

4. ลงมือปฏิบัติงานตามแผนที่วางไว้

18-28 สิงหาคม 2560

โรงเรียนถาวรานุกูล  และบ้านของสมาชิกในกลุ่ม


สมาชิกในกลุ่ม

5. สรุปผลและอภิปรายผล

29 สิงหาคม 2560

โรงเรียนถาวรานุกูล  และบ้านของสมาชิกในกลุ่ม

สมาชิกในกลุ่ม



                                  

บทที่4
ผลการดำเนินงาน
                               
1.ความกตัญญู                                                                                                 
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
      เผอิญมีพระราชาอีกพระองค์หนึ่ง ทรงนาม ท้าวจันทรเสน เสด็จออกยิงสัตว์ป่ากับพระราชบุตรจำเพาะสองพระองค์ กษัตริย์ทั้งสองทรงม้าไปตามแนวป่า เห็นรอยเท้าหญิงสองคนก็ทรงชักม้าหยุดดู พระราชบิดาตรัสว่า
                "รอยเท้าคนทำไมมีอยู่ในป่าแถบนี้" พระราชบุตรทูลว่า
                "รอยเท้าเหล่านี้เป็นรอยเท้าหญิงสองคน รอยเท้าชายคงจะโตกว่านี้" พระราชาตรัสว่า
                "เจ้าของรอยเท้าเหล่านี้เป็นหญิงจริงอย่างเจ้าว่า    แลน่าประหลาดที่มีหญิงมาเดินอยู่    ในป่า แต่ถ้าจะพูดตามเรื่องในหนังสือ หญิงที่พระราชาพบในป่ามักจะงามกว่าหญิงที่จะหาได้ในกรุงเหมือนดอกไม้ป่าที่งามกว่าดอกไม้ในสวน    มาเราจะตามนางทั้งสองนี้ไป   ถ้าพบนางงามจริงดังว่า      เจ้าจงเลือกเอาเป็นเมียคนหนึ่ง" พระราชบุตรทูลตอบว่า
                "รอยเท้านางทั้งสองนี้มีขนาดไม่เท่ากัน แม้เท้ามีขนาดย่อมทั้งสองนางก็ยังก็ยังใหญ่กว่ากันอยู่คนหนึ่ง ข้าพเจ้าจะเลือกนางเท้าเล็กเป็นภริยาข้าพเจ้า เพราะคงจะเป็นสาวน้อยตามขนาดแห่งเท้า ส่วนนางเท้าเขื่องนั้นคงจะเป็นสาวใหญ่ ขอพระองค์จงรับไว้เป็นราชชายา" ท้าวจันทรเสนตรัสว่า
                "เหตุไฉนเจ้าจึงกล่าวดังนี้   พระราชมารดาของเจ้าสิ้นพระชนม์ไปไม่กี่วัน  เจ้าจะอยาก    มีแม่เลี้ยงเร็วเท่านี้เชียวหรือ" พระราชบุตรทูลตอบว่า
                 "ขอพระองค์อย่ารับสั่งเช่นนั้น  เพราะบ้านของผู้เป็นใหญ่ในครอบครัวนั้น   ถ้าไม่มีแม่เรือนก็เป็นบ้านที่ว่าง อนึ่งพระองค์ย่อมจะทรงทราบคาถาซึ่งมูลเทวะบัณฑิตแต่งไว้ มีความว่า 'ชายผู้ไม่ใช่คนโง่ไม่ยอมคืนสู่เรือนซึ่งไม่มีนางที่รักผู้มีรูปงามคอยรับรองในขณะที่กลับถึงเรือนนั้น แม้เรียกว่าเรือนก็ไม่ใช่ อื่น คือคุกซึ่งไม่มีโซ่เท่านั้นเองพระองค์ย่อมทรงทราบได้ด้วยพระองค์เองว่า  ความสุขแห่งพ่อบ้านซึ่งอยู่โดดเดี่ยวนั้นมีไม่ได้ในบ้าน   แลมีไม่ได้นอกบ้าน   เพราะไม่มีหวังว่าจะได้ความสุข   เมื่อกลับมาสู่เรือนแห่งตน"
                ท้าวจันทรเสนทรงนิ่งตรองอยู่ครู่หนึ่ง แล้วตรัสตอบพระราชบุตรว่า
                "ถ้านางเท้าเขื่องมีลักษณะเป็นที่พึงใจ ข้าก็จะทำตามคำเจ้าว่า"


เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นมีการแสดงความกตัญญูของพระราชบุตรต่อผู้เป็นพระราชบิดา คือ พระราชบุตรทรงอยากให้ผู้เป็นพ่อมีความสุขแม้พระองค์จะยังเสียพระทัยที่พระราชมารดาสิ้นพระชนม์ จึงอยากให้พระราชบิดามีชายาโดยเร็ว   เพราะพระราชบิดาจะได้ไม่ต้องทรงเสียพระทัย
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                           นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา : ความเป็นผู้รู้คุณและตอบแทน คือเครื่องหมายของคนดี

2. ความซื่อสัตย์
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ 
           เมื่อท้าวมหาพลจะสิ้นบุญนั้น เกิดศึกขึ้นที่กรุงธรรมปุระ ข้าศึกมีกำลังมากแลชำนาญการศึก ใช้ทั้งทองคำแลเหล็กเป็นอาวุธ คือใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารแลไพร่พลของพระราชาให้เอาใจออกห่างจากพระองค์ แลใช้เหล็กเป็นอาวุธฆ่าฟันคนที่ซื้อน้ำใจไม่ได้ ข้าศึกใช้ทองคำบ้าง เหล็กบ้างเป็นอาวุธดังนี้ จนในที่สุดรี้พลของท้าวมหาพลหรอร่อยย่อยยับไป
          เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความซื่อสัตย์ของทหารและไพรพลบางส่วนของพระราชาที่มีต่อแผ่นดิน ต่อพระราชาผู้ครองแผ่นดิน คือยอมถูกฆ่าตายเพื่อแผ่นดิน ไม่ยอมเปลี่ยนฝั่งไปอยู่กับข้าศึก และแสดงถึงความไม่ซื่อสัตว์ของทหารและไพร่พล คือ เห็นคุณค่าของเงินทอง คุณค่าของชีวิตตนเองสำคัญกว่าแผ่นดินและพระราชา ซึ่งผู้คนย่อมสรรเสริญทหารและไพร่พลที่มีความซื่อสัตย์มากกว่าทหารและไพร่พลที่ข้าศึกซื้อด้วยเงินทอง
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                      สจฺจํ หเว สาธุตรํ รสานํ : ความซื่อสัตย์นั่นแล ดีกว่ารสทั้งหลาย 

3. ความพอเพียง
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
พระราชานำนางทั้งสองเดินไปจนเวลาสาย ถึงท้องทุ่งเห็นหมู่บ้านหมู่หนึ่งแต่ไกล ไม่ทรงทราบว่าเป็นหมู่บ้านโจร แต่ทรงสงสัยไม่วางพระหฤทัยจึงตรัสให้พระมเหสี แลพระราชธิดาหยุดนั่งกำบังอยู่ในแนวไม้ พระองค์ทรงถืออาวุธเดินตรงเข้าไปสู่หมู่บ้านเพื่อจะหาอาหารเสวยแลสู่นางทั้งสององค์

          ฝ่ายพวก ภิลล์ ซึ่งอยู่ในหมู่บ้านนั้นประพฤติตัวเป็นโจรอยู่โดยปกติ ครั้นเห็นชายคนเดียวแต่งตัวด้วยของมีค่าเดินเข้าไปเช่นนั้น ก็คุมกันออกมาจะเข้าชิงทรัพย์ในพระองค์พระราชา ท้าวมหาพลทรงเห็นดังนั้นก็ทรงพระแสงธนูยิงพวกโจรล้มตายเป็นอันมาก ฝ่ายนายโจรได้ทราบว่าผู้มีทรัพย์มาฆ่าฟันพวกตนลงไปเป็นอันมากดังนั้นก็กระทำสัญญาณเรียกพลโจรออกมาทั้งหมดแล้วเข้าล้อมรบพระราชา ท้าวมหาพลองค์เดียวเหลือกำลังจะต่อสู้ป้องกันอาวุธพวกโจรได้ ก็สิ้นพระชนม์ลงในที่นั้น พวกภิลล์ก็ช่วยกันปลดเปลื้องของมีค่าออกจากพระองค์ แล้วพากันคืนเข้าสู่บ้านแห่งตน

เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความไม่พอเพียงของพวกภิลล์ ซึ่งไม่มีความรู้จักพอ ไม่พอใจในสิ่งที่มี คอยเป็นโจรปล้นชิงทรัพย์ผู้อื่นเพื่อความสุขของตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อน และไม่เกรงกลัวต่อบาปจากการฆ่าผู้อื่น ย่อมเป็นผู้ที่มีบาปติดตัวไปในภายภาคหน้า
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                            มธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ : ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น 
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                                ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ  ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ : ผู้โลภย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม

4. ความมีวินัย
ปรากฏเหตุการณ์ดังต่อไปนี้
  เวตาลเล่ามาเพียงนี้ก็หยุดอยู่ครู่หนึ่ง    แล้วกล่าวต่อไปว่าบัดนี้ข้าพเจ้าจะตั้งปัญหาทูลถามพระองค์ว่า ลูกท้าวจันทรเสนที่เกิดจากธิดาท้าวมหาพล แลลูกมเหสีท้าวมหาพลที่เกิดกับพระราชบุตรท้าวจันทรเสนนั้นจะนับญาติกันอย่างไร    พระวิกรมาทิตย์ได้ทรงฟังปัญหาเวตาลก็ทรงตรึกตรองเอาเรื่องพ่อกับลูก แม่กับลูก แลพี่กับน้องมาปนกันยุ่ง แลมิหนำซ้ำมีเรื่องแม่เลี้ยงกับแม่ตัวแลลูกสะใภ้กับลูกตัวอีกเล่า  พระราชาทรงตีปัญหายังไม่ทันแตก พอทรงนึกขึ้นได้ว่าการพาเวตาลไปส่งให้แก่โยคีนั้น จะสำเร็จได้ก็ด้วยไม่ทรงตอบปัญหา  จึงเป็นอันทรงนิ่งเพราะจำเป็นแลเพราะสะดวก  แลรีบสาวก้าวทรงดำเนินเร็วขึ้น ครั้นเวตาลทูลเย้าให้ตอบปัญหาด้วยวิธีกล่าวว่าโง่จะรับสั่งอะไรไม่ได้ก็ทรงกระแอม เวตาลทูลถามว่า
                "รับสั่งตอบปัญหาแล้วไม่ใช่หรือ"
                พระราชาไม่ทรงตอบว่ากระไร เวตาลก็นิ่งอยู่ครู่หนึ่งแล้วทูลถามว่า
                "บางทีพระองค์จะโปรดฟังเรื่องสั้นๆ อีกสักเรื่องหนึ่งกระมัง" ครั้งนี้แม้แต่กระแอมพระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ทรงกระแอม เวตาลจึงกล่าวอีกครั้งหนึ่งว่า
                "เมื่อพระองค์ทรงจนปัญญาถึงเพียงนี้แล้ว บางทีพระราชบุตรซึ่งทรงปัญญาเฉลียวฉลาดจะทรงแก้ปัญหาได้บ้างกระมัง"
                แต่พระธรรมธวัชพระราชบุตรนิ่งสนิททีเดียว      

            เหตุการณ์ที่ยกมาข้างต้นแสดงถึงความมีวินัย เพราะพระวิกรมาทิตย์ได้เสด็จไปจับตัวเวตาลหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเวตาลก็ใช้อุบายหลอกให้พระวิกรมาทิตย์ตอบคำถามจนหนีกลับมาได้ทุกครั้ง ซึ่งพระวิกรมาทิตย์ก็ไม่ได้ย่นย่อหรือย่อหย่อนต่อความเพียรความมีวินัยที่จะจับตัวเวตาลไปให้ส่งให้โยคี จนมาถึงการเล่านิทานเรื่องสุดท้ายของเวตาล ซึ่งเวตาลก็ใช้อุบายเดิม เพียงแต่ครั้งนี้พระวิกรมาทิตย์ทรงนิ่งไม่ยอมตอบคำถามของเวตาล แม้เวตาลจะพูดยั่วยุเพียงใดก็ตามแต่พระวิกรมาทิตย์ก็ทรงอดทนไม่สนใจกับคำพูดของเวตาลเพราะคิดเพียงว่าต้องจับตัวเวตาลไปให้ได้ จนในที่สุดเวตาลก็ยอมจึงสามารถจับตัวเวตาลไปได้
เหตุการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                            ขนฺติ ธีรสฺสลงฺกาโร : ความอดทน เป็นเครื่องประดับ ของนักปราชญ์
นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า                                                                                  วินโย จ สุสิกฺขิโต เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ  วินัยที่ศึกษาดีแล้ว เป็นมงคลอย่างสูงสุด                                                 






บทที่ 5
อภิปราย สรุปผล

สรุปผลการศึกษา
          นิทานเวตาลมีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทาน มีทั้งหมด 25 ตอน แต่ตอนที่นำมาศึกษาคือเรื่องที่10 ฉบับพระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ซึ่งมีเนื้อหาที่สนุกสนาน ปรากฏคุณธรรมต่างๆมากมาย นอกจากนี้ยังสอดแทรกในเรื่องของด้านความกตัญญู ด้านความซื่อสัตย์ ด้านความพอเพียง ด้านความมีวินัย ซึ่งสามารถนำคุณธรรมในเรื่องนิทานเวตาลไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์

อภิปรายผล
          1.รู้และเข้าใจคุณธรรมที่สอดแทรกเกี่ยวกับนิทานเวตาล ที่มา จุดประสงค์ในการทำโครงงาน คุณค่าของนิทานเวตาล ประเภทของนิทานเวตาล 
          2.มีกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
          3.มีทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ และการอ่าน

ประโยชน์ที่ได้รับ
          1.นำความรู้ข้อคิด คุณธรรมจากเรื่องนิทานเวตาลไปใช้ ให้เหมาะสมกับแต่ละโอกาสได้
2.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนิทานเวตาล และความสนุกสนานเพลิดเพลินจากการอ่าน
          3.มีแนวความคิด และวิธีการทำงานที่รวดเร็วขึ้น
          4.เกิดความสามัคคีในกลุ่ม

ข้อเสนอแนะ
          1. นิทานเวตาลปรากฏคุณค่าในเรื่องของวัฒนธรรมประเพณีของชาวอินเดียโบราณมากมาย จึงสมควรอย่างยิ่งที่ผู้ที่สนใจในเรื่องของการศึกษาวัฒนธรรมอินเดียของโบราณ จะนำไปศึกษาในโอกาสต่อไป
         

บรรณานุกรม

Nice Fantasythai .(2555). ความเป็นมานิทานเวตาลเรื่องที่ 10 ฉบับพระราชวงศ์เธอ
           กรมหมื่นพิทยาลงกรณ. เข้าถึงได้จาก : http://group.wunjun.com/fantasythai/topic/73876-1779
Pump lee. (2558). คุณธรรม. เข้าถึงได้จาก :  https://www.im2market.com/2015/12/22/2246
(วันที่ค้นหาข้อมูล 26 สิงหาคม 2560)
IM2.(2558).ความพอเพียง. เข้าถึงได้จาก : https://www.im2market.com/2015/11/30/2111
(วันที่ค้นหาข้อมูล 26 สิงหาคม 2560)
IM2.(2559).ความมีวินัย. เข้าถึงได้จาก : https://www.im2market.com/2016/11/20/3697
(วันที่ค้นหาข้อมูล 26 สิงหาคม 2560)
Wikipedia.(2559).ความกตัญญู. เข้าถึงได้จาก :         
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B9(วันที่ค้นหาข้อมูล 26 สิงหาคม 2560)
KruSaravut.(2554).ความซื่อสัตย์. เข้าถึงได้จาก : http://krusaravut.blogspot.com/2011/11/blogpost_07.html
(วันที่ค้นหาข้อมูล 26 สิงหาคม 2560)
Sanook.(2556).พุทธศาสนสุภาษิต. เข้าถึงได้จาก : http://guru.sanook.com/5841/
(วันที่ค้นหาข้อมูล 30 สิงหาคม 2560)
Kusol.com.(2556). คุณธรรมที่สอดคล้องกับความพอเพียงเข้าถึงได้จาก :
http://www.fungdham.com/proverb.html(วันที่ค้นหาข้อมูล 30 สิงหาคม 2560)
Kusol.com.(2556). คุณธรรมที่สอดคล้องกับความมีวินัยเข้าถึงได้จาก :
http://www.fungdham.com/proverb.html(วันที่ค้นหาข้อมูล 30 สิงหาคม 2560)
Raponsan.(2556).คุณธรรมที่สอดคล้องกับความกตัญญูเข้าถึงได้จาก :
(วันที่ค้นหาข้อมูล 30 สิงหาคม 2560)
Kusol.com.(2556). คุณธรรมที่สอดคล้องกับความซื่อสัตย์เข้าถึงได้จาก :
http://www.fungdham.com/proverb.html(วันที่ค้นหาข้อมูล 30 สิงหาคม 2560)
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ.(2461).นิทานเวตาลเรื่องที่ 10  ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ     
           กรมหมื่นพิทยาลงกรณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์
เขียนโดย Thitinart Phimhasiri ที่ 01:18 ไม่มีความคิดเห็น: 
วันศุกร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2560
นิทานเวตาล เรื่องที่ 10


ที่มาของเรื่อง
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย  โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน  ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี. เอช. ทอว์นีย์   อีก 1 เรื่อง รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461
นิทานเวตาลเป็นนิทานที่มีลักษณะเป็นนิทานซับซ้อนนิทาน คือ มีนิทานเรื่องย่อยซ้อนอยู่ในนิทานเรื่องใหญ่


ลักษณะการแต่ง

นิทานเวตาล แต่งเป็นร้อยแก้ว    โดยนำทำนองเขียนร้อยแก้วของฝรั่งมาปรับเข้ากับสำนวนไทยได้อย่างกลมกลืน และไม่ทำให้เสียอรรถรส แต่กลับทำให้ภาษาไทยมีชีวิตชีวา จึงได้รับยกย่องเป็นสำนวนร้อยแก้วที่ใหม่ที่สุดในยุคนั้น เรียกว่า “สำนวน น.ม.ส.


จุดมุ่งหมาย

แต่งเพื่อสอนให้มนุษย์รู้จักคิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้ดี การใช้ปัญญาอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตลอด ต้องมีสติกำกับปัญญา จึงจะผ่านปัญหาต่างๆไปได้


ประวัติผู้แต่ง

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ   ทรงชำนาญด้านภาษาและวรรณคดีเป็นพิเศษ  ได้นิพนธ์หนังสือไว้มากมายโดยใช้นามแฝง “น.ม.ส.” ซึ่งทรงเลือกจากอักษรตัวหลังพยางค์ของพระนาม(พระองค์เจ้า) “รัชนีแจ่มจรัส
พระนามแฝง “น.ม.ส.”  เป็นที่รู้จักกันดีในนามนักเขียนและกวีที่มีโวหารพิเศษ คือ คมคายและขบขัน  เมื่อทรงเขียนเรื่องชีวิตของนักเรียนเมืองอังกฤษ ลงในหนังสือ วชิรญาณครั้งแรกผู้อ่านก็ชอบใจทันที  เพราะมีความแปลกใหม่ทั้งแนวเขียนแนวคิด  ความชำนาญทางภาษาเยี่ยมยอด จึงได้ทรงรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสูงทางคุณวุฒิหลายครั้ง  เช่น  องคมนตรี สภานายก ราชบัณฑิตยสถาน เป็นต้น
พระองค์ได้ทรงตั้งโรงพิมพ์และมีกิจการพิมพ์ส่วนพระองค์ที่ถนนประมวญ และทรงออกหนังสือเครือประมวญ  ชื่อประมวญวัน และประมวญมารค
งานนิพนธ์มีทั้ง ๒ ประเภท ดังนี้
๑.ประเภทร้อยแก้ว ได้แก่ จดหมายจางวางหร่ำ นิทานเวตาล สืบราชสมบัติ ตลาดเงินตรา พระนางฮองไทเฮา และที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากได้แก่ บทความหน้า ๕ ในหนังสือประมวญวัน
๒.ประเภทร้อยกรอง ได้แก่ กนกนครคำกลอน พระนลคำฉันท์ สามกรุง


เนื้อเรื่องย่อ

ในโบราณกาล มีเมืองที่ใหญ่เมืองหนึ่งชื่อ กรุงธรรมปุระ พระราชาทรงพระนามว่า ท้าวมหาพล มีพระมเหสีที่ทรงสิริโฉมงดงามแม้มีพระราชธิดาที่ทรงเจริญวัยแล้ว ต่อมาได้เกิดศึกสงครามทหารของท้าวเอาใจออกห่าง ทำให้ทรงพ่ายแพ้ พระองค์จึงทรงพาพระมเหสีและพระราชธิดาหลบหนีออกจากเมืองเพื่อไปเมืองเดิมของพระมเหสี ในระหว่างทางท้าวมหาพลได้ถูกโจรรุมทำร้ายเพื่อชิงทรัพย์และสิ่งของมีค่า จนพระองค์สิ้นพระชนม์ จนพระราชธิดาและพระมเหสีเสด็จหนีเข้าไปในป่าลึก
ในเวลานั้นมีพระราชาทรงพระนามว่า ท้าวจันทรเสน กับพระราชบุตร ได้เสด็จมาประพาสป่าและพบรอยเท้าของสตรีซึ่งเมื่อพบสตรีทั้งสองจะให้รอยเท้าที่ใหญ่เป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และรอยเท้าที่เล็กเป็นพระชายาของพระราชบุตร แต่เมื่อพบนางทั้งก็ปรากฏว่า รอยเท้าที่ใหญ่คือพระราชธิดา และรอยเท้าที่เล็ก นั้นคือ พระราชมารดา ดังนั้นพระราชธิดาจึงเป็นพระมเหสีของท้าวจันทรเสน และพระมารดาได้เป็นพระชายาของพระราชบุตร


ข้อคิดที่ได้รับ

       
 หากมนุษย์รู้จักใช้ปัญญาคิดไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วยและรอบด้าน แม้ปัญหาจะยากเย็นซับซ้อน เพียงใดก็สามารถแก้ไขหรือทำความเข้าใจได้เสมอ  แต่การใช้ปัญญาเพียงอย่างเดียวมิอาจแก้ปัญหาทุกสิ่งได้เสมอไป  มนุษย์ต้องมีสติกำกับปัญญาของตนด้วยการใช้สติปัญญาควบคู่กันไป   คือหลักสำคัญในการนำมนุษย์ไปสู่ความสำเร็จ  อีกทั้งคำพูดของมนุษย์มีความสำคัญยิ่ง เพราะคำพูดเป็นสิ่งที่ต้องรักษาดังนั้นหาพูดออกมาโดยมิได้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบด้านเสียก่อน ก็จะนำหายนะหรือปัญหาซึ่งยากจะแก้ไขมาสู่ตนได้   ความกล้าหาญมุ่งมั่นและความเพียรเป็นคุณลักษณะที่น่าชื่นชม


คำศัพท์

กระเหม่น   –  เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเบาๆ ขึ้นเอง ตามลัทธิโบราณถือว่า   เป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดี
โกรศ         –  มาตราวัดความยาว เท่ากับ 500 คันธนู
เขื่อง         –  ค่อนข้างใหญ่ ค่อนข้างโต
คุมกัน        – รวมกลุ่มกัน
เครื่องประหลาด      –   สิ่งที่ทำให้คนประหลาดใจ ในความว่า “ความสาวของพระนางเป็นเครื่องประหลาดของคนทั้งหลาย
จำเพาะ      –  เพียง  เฉพาะ       
ซื้อน้ำใจ     –  ผูกใจ ในความว่า “ใช้ทองคำซื้อน้ำใจนายทหารหมายถึง ติดสินบนด้วยทองคำเพื่อให้ทหารเข้ากับฝ่ายของตน
ดอกไม้ในสวน   –  เปรียบกับหญิงสาวที่อยู่ในรั้วในวัง
ดอกไม้ป่า         –  เปรียบกับหญิงสาวในชนบทหรือในหัวเมืองทั่วไป แต่มีความงามเป็นพิเศษ
ภิลล์                 –  ชื่อชาวป่า อาศัยในแถบเขาวินธัยในอินเดีย
มูลเทวะบัณฑิต  –  เป็นชื่อตัวละครในนิทานสันสกฤต เล่าว่าเป็นผู้รู้ศิลปวิทยาและมักกล่าวถ้อยคำเป็นคติสอนใจ
แม่เรือน           – ในที่นี้หมายถึงภริยาที่ดีมีหน้าที่ดูแลสามีและความเรียบร้อยภายในบ้าน เรียกว่า แม่ศรีเรือน
รี้พล       –  ทหาร
สัญญา    –  สัญญาณ ในข้อความที่ว่า “ก็ทำสัญญาเรียกพลโจรออกมาทั้งหมด
สิ้นบุญ    –  ตาย
สู่            –  แบ่งให้ ในข้อความ “เพื่อจะหาอาหารเสวยและสู่พระนางทั้งสองพระองค์
หนังสือ   –  วรรณคดี ในความที่ว่า “ถ้าจะพูดตามเรื่องหนังสือ
หรอร่อย  –  คือ ร่อยหรอ หมายความว่า ค่อยๆ หมดไปทีละน้อย
เหล็ก      –  อาวุธที่ทำด้วยเหล็ก ในข้อความที่ว่า “ใช้เหล็กเป็นอาวุธที่ซื้อน้ำใจไม่ได้

ความรู้เพิ่มเติม

นิทาน หมายถึง เรื่องเล่าสืบต่อกันมา และกล่าวได้ว่าเป็นวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดคือ ศิลปะ ที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ แล้วเรียบเรียง นำมาบอกเล่า ว่ากันว่านิทานอาจมีกำเนิดพร้อม ๆ กับครอบครัวของมนุษยชาติ ซึ่งมูลเหตุที่มาแต่เริ่มแรก คงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงแล้วเล่าสู่กันฟัง มีการเพิ่มเติมเสริมแต่งให้พิสดารมากยิ่งขึ้น จนห่างไกลจากเรื่องจริง กลายเป็นนิทานไป และอาจเป็นการเขียนจากจินตนาการก็ได้


องค์ประกอบของนิทาน

1. แนวคิด:แก่นสารหรือสาระที่จุดประกายให้เกิดเรื่องราวเช่น แม่กระต่ายผู้รักลูกสุดหัวใจยอมสละชีวิตตัวเองเพื่อแลกกับลูก  หรือ ลูกสี่คนคิดปลูกฟักทองยักษ์ให้แม่
หรือ ลูกไก่ 7 ตัวที่ยอมตายตามแม่
 หรือ โจรใจร้ายชอบทำร้ายผู้หญิงวันหนึ่งกลับทำร้ายแม่ตัวเองโดยไม่ตั้งใจ หรือ ลูกหมูสามตัวไม่เชื่อแม่ทำให้เป็นเหยื่อของหมาป่า 
2. โครงเรื่องของนิทานโครงเรื่องและเนื้อหาต้องไม่ซับซ้อน สั้นๆ กะทัดรัด เป็นลักษณะเรื่องเล่าธรรมดา มีการลำดับเหตุการณ์ก่อนหลัง

3. ตัวละครขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้เขียน เช่น คน สัตว์ เทพเจ้า แม่มด เจ้าชาย นางฟ้า เป็นต้น**แต่ไม่ควรมีตัวละครมากเกินไป 
4. ฉากสถานที่เกิดเหตุ...ในป่า กระท่อมร้าง ปราสาท บนสวรรค์ แล้วแต่ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เขียน
5. บทสนทนาการพูดคุยของตัวละคร  ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย กระชับ  สนุกสนาน **ไม่ใช้คำหยาบ
6. คติสอนใจ: เมื่อจบนิทาน ผู้อ่านควรได้แง่คิด คติสอนใจเพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรมกล่อมเกลาจิตใจ 
นิทานอีสป เป็นนิทานที่เล่าต่อกันมาโดยเชื่อว่า อีสป เป็นคนรวบรวมไว้นิทานอีสปมักมีคติข้อคิดสอนผู้ฟัง นิทานอีสปมักมีเนื้อหาเกี่ยวกับสัตว์ชนิดต่างๆเนื้อเรื่องเป็นที่ถูกใจของเด็กๆ ทำให้เด็กๆได้รับข้อคิดในตอนท้ายของนิทานเสมอคติต่างๆในนิทานอีสป ยังเป็นที่รู้จักแพร่หลายในปัจจุบันเช่น ช้าๆได้พร้าเล่มงาม อย่าประมาท พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี เป็นต้น
ชาดก เป็นเรื่องที่มีมาก่อนพุทธกาล เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ หรือ เป็นชีวประวัติในชาติก่อนของพระพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีเพื่อตรัสรู้ นั่นเอง
          ชาดก เป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก แต่มีความหมายแตกต่างจากนิทานที่เล่ากันทั่วไป คือ ชาดกเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริง แต่นิทานเป็นเรื่องที่แต่งขึ้น
          ชาดกที่ทรงเล่านั้นมีนับพันเรื่อง หมายถึง พระองค์ได้เสวยพระชาติเป็นพระโพธิสัตว์นับพันชาติ โดยทรงเกิดเป็นมนุษย์บ้าง เป็นสัตว์บ้าง แต่ที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ๑๐ ชาติสุดท้ายที่เรียกว่า ทศชาติชาดก และชาติสุดท้ายที่สุดที่ทรงเกิดเป็นพระเวสสันดร จึงเรียกเรื่องพระเวสสันดรนี้ว่า เวสสันดรชาดก


วิเคราะห์ วิจารณ์

ความดีเด่นด้านกลวิธีการแต่ง

1. การใช้สำนวนโวหาร

นิทานเวตาล ฉบับพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์  มีการใช้สำนวนโวหารเปรียบเทียบที่ไพเราะและทำให้เห็นภาพแจ่มชัดขึ้น

2. การใช้กวีโวหาร

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงแปลนิทานเวตาลด้วยภาษาที่กระชับ อ่านง่าย มีบางตอนที่ทรงใช้สำนวนภาษาบาลี ซึ่งไม่คุ้นหูผู้อ่านในยุคนี้ เพราะไม่นิยมใช้แล้วในปัจจุบัน และยังมีสำนวนเปรียบเทียบที่ใช้ภาษาสละสลวย และแฝงด้วยข้อคิด ทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้อย่างแนบเนียน

คุณค่าด้านปัญญาและความคิด

1. ความอดทนอดกลั้น

ความอดทนเป็นคำสอนในทุกศาสนา ดังนั้นเมื่อไม่ตอบปัญหาในเรื่องที่ 10 เวตาลจึงกล่าวชมว่า ทรงตั้งพระราชหฤทัยดีนัก พระปัญญาราวกับเทวดาและมนุษย์อื่นที่มีปัญญา จะหามนุษย์เสมอมิได้

2. ความเพียรพยายาม

เวตาลมักยั่วยุให้พระวิกรมาทิตย์แสดงความคิดเห็นออกมา ทำให้พระองค์ต้องกลับไปปีนต้นอโศกเพื่อจับเวตาลใส่ย่ามกลายครั้ง

3. การใช้สติปัญญา

การแก้ปัญหาต่างๆ จำเป็นต้องใช้สติและปัญญาควบคู่กันไป จากนิทานเวตาลเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปัญญาของพระวิกรมาทิตย์อย่างเดียวนั้นไม่สามารถแก้ปัญหาและเอาชนะเวตาลได้ แต่พระองค์ต้องใช้สติประกอบกับปัญญาควบคู่กันไปจึงเอาชนะเวตาลได้

4. ความมีสติ

ความเป็นผู้มีทิฐิมานะ ไม่ยอมในสิ่งที่ไม่พอใจ บางครั้งอาจส่งผลเสียต่อผู้นั้นเอง ดังนั้น การพยายามยับยั้งชั่งใจ  ไม่พูดมากปากไวจนเกินไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากเพราะเมื่อใด เราคิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด เมื่อนั้นเราก็มีสติ สติเป็นสิ่งที่สำคัญเพราะเป็นพื้นฐานของสมาธิและปัญญา ถ้าไม่มีสติ สิ่งต่างๆที่เราทำไปหรือตัดสินใจไปโดยไร้สติอาจส่งผลร้ายเกินกว่าจะประเมินได้

5. การเอาชนะข้าศึกศัตรู

ในการทำสงครามนั้นผู้ที่มีความชำนาญ มีเล่ห์เหลี่ยมในกลศึกมากกว่าย่อมได้ชัยชนะ

6. ข้อคิดเตือนใจ

เครื่องประดับเป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้าย แม้จะเป็นชายที่มีฝีมือเช่นท้าวมหาพลก็ตาม เมื่อตกอยู่ในหมู่โจรเพียงคนเดียว ย่อมเสียทีได้

คุณค่าด้านความรู้


          การอ่านนิทานเวตาลทำให้ได้รู้ถึงวัฒธรรมและค่านิยมของชาวอินเดียในยุคโบราณ เช่น ค่านิยมที่ชายจะมีภรรยาได้หลายคนโดยเฉพาะชายสูงศักดิ์ เพราะถือส่าเรือนที่อบอุ่นจะต้องมีแม่เรือน